top of page

การศึกษาหลังปริญญา

หลักสูตรวุฒิบัตรเฉพาะทาง  
ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทยและแพทยสภา

  • สาขาวิชาสูติศาสตร์นรีเวชวิทยา

  • อนุสาขาเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์

  • อนุสาขาเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์

  • อนุสาขามะเร็งนรีเวชวิทยา

  • อนุสาขาเวชศาสตร์เชิงกรานสตรีและศัลยกรรมซ่อมเสริม

  • อนุสาขาการผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช (หลักสูตร 1ปี)

กิจกรรมวิชาการ

วิสัยทัศน์

ผลิต และพัฒนาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา ที่มีคุณธรรม จริยธรรม และคุณภาพตามระดับมาตรฐานสากล

พันธกิจของการฝึกอบรม

  1. ผลิตสูตินรีแพทย์ที่มีคุณธรรมและจริยธรรมแห่งวิชาชีพ มีความรับผิดชอบ ทัศนคติและเจตคติที่ดีต่อผู้ป่วย ผู้ร่วมงานและองค์กร

  2. ผลิตแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญโดยมีความรู้อย่างครอบคลุมและลึกซึ้งทางด้านสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา มีทักษะทางคลินิกและทักษะทางหัตถการ เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดโดยราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย

  3. ผลิตแพทย์ที่มีความสามารถและวิจารณญาณในการป้องกัน แก้ไขปัญหาและให้การดูแลสุขภาพของสตรีทั้งในวัยก่อนเจริญพันธุ์ วัยเจริญพันธุ์และวัยหมดประจำเดือนได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมกับบริบทของสังคมและระบบบริการสุขภาพและคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วย

  4. ผลิตสูตินรีแพทย์ที่ตอบสนองต่อความต้องการของระบบบริการสุขภาพทุกระดับ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการและกระบวนการคุณภาพของระบบบริการสุขภาพ และสามารถพัฒนาตนเองไปสู่ผู้มีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางระบบสุขภาพของชุมชน สังคมและระดับประเทศรวมทั้งสอดคล้องกับปัญหาสุขภาพของสตรีที่สำคัญและเป็นปัญหาหลักในระดับชุมชนและสังคมโดยเฉพาะภาคใต้ที่เป็นสังคมพหุวัฒนธรรม

  5. ผลิตสูตินรีแพทย์ที่มีความสามารถในการทำวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ที่มีคุณภาพมาตรฐานระดับนานาชาติ และพัฒนาตนเองในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

  6. พัฒนาการฝึกอบรมสู่ระดับนานาชาติ มีนวัตกรรมการเรียนการสอนที่ทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสมเพื่อพัฒนาให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความสามารถที่ครอบคลุมและจำเพาะเจาะจงต่อวิชาชีพ

ผลสัมฤทธิ์ของแผนงานฝึกอบรม

แพทย์ประจำบ้านที่จบการฝึกอบรมเป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยาต้องมีคุณสมบัติ ความรู้ และทักษะขั้นต่ำตามสมรรถนะหลักทั้ง 6 ด้าน ดังนี้

  1. การดูแลสุขภาพสตรี (Women’s health)

         ก.  มีทักษะในการดูแลด้านสูติศาสตร์ตั้งแต่ระยะก่อนตั้งครรภ์ ขณะตั้งครรภ์ ขณะคลอดและหลังคลอด

         ข.  มีทักษะในการดูแลด้านนรีเวชวิทยาตั้งแต่ระยะก่อนวัยเจริญพันธุ์, วัยเจริญพันธุ์, และวัยหมดระดู

   2. ความรู้และทักษะหัตถการทางเวชกรรม (Medical knowledge and procedural skills)

        ก.  เข้าใจวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐานของร่างกายและจิตใจที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพสตรี

        ข.  มีความรู้ความสามารถในวิชาชีพ และเชี่ยวชาญในสาขาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา

   3. ทักษะระหว่างบุคคลและการสื่อสาร (Interpersonal and communication skills)

        ก.  นำเสนอข้อมูลผู้ป่วย และอภิปรายปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ

        ข.  ถ่ายทอดความรู้และทักษะ ให้แพทย์นักศึกษาแพทย์ และบุคลากรทางการแพทย์

        ค.  สื่อสารให้ข้อมูลแก่ญาติ และผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ โดยเคารพการตัดสินใจและศักดิ์ศรีของความ

              เป็นมนุษย์

        ง.  มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ทำงานกับผู้ร่วมงานทุกระดับอย่างมีประสิทธิภาพ

        จ.  เป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำแก่แพทย์และบุคคลากรอื่น โดยเฉพาะทางสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา

    4. การเรียนรู้และพัฒนาจากฐานการปฏิบัติ (Practice-based learning and improvement)

          ก.  มีการพัฒนาตนเอง และการเรียนรู้จากการปฏิบัติ (practice-based) ความคิดสร้างสรรค์ตามหลักวิทยาศาสตร์ในการ                        สร้างความรู้ใหม่ และพัฒนาระบบบริการสุขภาพ

          ข.  ดำเนินการวิจัยทางการแพทย์ และสาธารณสุขได้

          ค.  วิพากษ์บทความ และงานวิจัยทางการแพทย์

          ง.  เรียนรู้ และเพิ่มประสบการณ์ได้ด้วยตนเองจากการปฏิบัติ

    5. ความสามารถในการทำงานตามหลักวิชาชีพนิยม (Professionalism)

         ก.  มีคุณธรรมจริยธรรมและเจตคติอันดีต่อผู้ป่วย ญาติ ผู้ร่วมงาน เพื่อนร่วมวิชาชีพและชุมชน

         ข.  มีทักษะด้านที่ไม่ใช่เทคนิค (Non-technical skills)

         ค.  มีความสนใจใฝ่รู้และสามารถพัฒนาไปสู่ความเป็นผู้เรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิต (continuous professional development)

         ง.  มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย

         จ.  คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม

    6. การทำเวชปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับระบบสุขภาพ (System-based practice)

        ก.  มีความรู้เกี่ยวกับระบบสุขภาพของประเทศ

        ข.  มีความรู้ และมีส่วนร่วมในระบบพัฒนาคุณภาพการดูแลรักษาผู้ป่วย โดยสามารถอธิบาย

             กระบวนการคุณภาพ และความปลอดภัยทางสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา

        ค.  ใช้ทรัพยากรสุขภาพอย่างเหมาะสม (cost consciousness medicine) และสามารถปรับเปลี่ยนการดูแลรักษาผู้ป่วยให้เข้า                กับบริบทของการบริการสาธารณสุขได้ตามมาตรฐานวิชาชีพ และสามารถจัดการสถานการณ์วิกฤตทางสูติศาสตร์และ                      นรีเวชวิทยาได้

คณะกรรมการบริหารหลักสูตร

การบริหารกิจกรรมและการจัดการฝึกอบรม

ผลการประเมินหลักสูตรการฝึกอบรมสาขาวิชาสูติศาตร์และนรีเวชวิทยาประจำปี 2566

ผลการประเมินติดตามบัณฑิต ประจำปี 2562-2564

มาตรฐานคุณวุฒิ ความรู้ความชำนาญ
ในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม (มคว.2)

คู่มือแพทย์ประจำบ้านสาขาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา

แพทย์เพิ่มพูนทักษะ

bottom of page