top of page
MFM PSU Website.001.jpeg
Contact

หน่วยเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์

สาขาสูติศาสตร์นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

วิสัยทัศน์

เป็นหน่วยเวชศาสตรม์ารดาและทารกในครรภ์
ชั้นนำของประเทศ ที่มุ่งสู่นานาชาติ

พันธกิจ

1. ให้บริการวินิจฉัย ดูแลและรักษา สตรีตั้งครรภ์ความเสี่ยงสูงและทารกในครรภ์ในระดับมาตรฐานสากล 
2. ผลิตและพัฒนานักศึกษาแพทย์ แพทย์ประจำบ้าน สูติแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ ที่มีคุณภาพคุณธรรมและจริยธรรม
3. สร้างงานวิจัยและองค์ความรู้ที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับ
4. ให้บริการแก่สังคม

Hearts

ความเป็นมาของหน่วย

ปี พ.ศ. 2527 อ.นพ.วิชา สธนพานิชย์ หัวหน้าภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา ได้จัดซื้อเครื่องตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง (Ultrasound) และเครื่องบันทึกเสียงหัวใจทารกในครรภ์ (Electronic fetal monitoring) เป็นเครื่องแรกของภาควิชาฯ และนับเป็นเครื่องรุ่นแรกของภาคใต้ ขณะนั้นยังไม่มีการฝึกอบรมการใช้เครื่องอย่างเป็นระบบ เครื่องที่ซื้อมาจึงได้จัดตั้งไว้ใช้ในห้องคลอด

ปี พ.ศ. 2529 ศ.พญ.อุ่นใจ กออนันตกุล ได้ก่อตั้งหน่วยใหม่ขึ้นโดยให้ชื่อว่า “หน่วยบริบาลทารกในครรภ์” และเริ่มเปิดให้บริการตรวจผู้ป่วยนอกครรภ์เสี่ยงสูง

ปี พ.ศ. 2529 ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช คณบดีคณะแพทยศาสตร์ในขณะนั้น ได้เริ่มก่อตั้ง ห้องปฏิบัติการด้านอณูพันธุศาสตร์และโครโมโซมโดยมี ผศ.ดร.จำนงค์ นพรัตน์ รับผิดชอบทางด้านอณูพันธุศาสตร์และอ.อุไรวรรณ จิโนรส รับผิดชอบทางด้านการตรวจโครโมโซม เมื่อมีความพร้อมทางห้องปฏิบัติการ หน่วยฯ จึงได้เริ่มให้บริการตรวจคัดกรองและวินิจฉัยก่อนคลอดโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรงและทารกกลุ่มอาการดาวน์ โดย ศ.พญ.อุ่นใจ  กออนันตกุล เป็นผู้ทำการเจาะน้ำคร่ำ (Amniocentesis) ส่งตรวจโครโมโซมครั้งแรกในวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2529 หลังจากนั้นได้ขยายงานเพิ่มเป็นการเจาะดูดเนื้อรก (Chorionic villous sampling) ในวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2533  และตรวจเลือดจากสายสะดือทารกในครรภ์ (Cordocentesis) วันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2534

ส่วนงานด้านการรักษาทารกในครรภ์ (Fetal therapy) ได้เริ่มทำการให้เลือดทารกในครรภ์ผ่านทางช่องท้อง (Intraperitoneal blood transfusion) โดย ศ.พญ.อุ่นใจ  กออนันตกุลและคณะ วันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2538 ในสตรีตั้งครรภ์ที่เป็น Rh isoimmunization  หลังจากนั้นได้ทำ Vesico-amniotic shunt โดยใช้ Double pigtail, Harrison fetal bladder stent ในทารกที่เป็น bladder outlet obstruction โดย รศ.พญ.ฐิติมา สุนทรสัจและรศ.พญ.จิตเกษม สุวรรณรัฐ วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2544 ต่อมาได้มีการให้เลือดทารกในครรภ์ผ่านทางสายสะดือทารกเป็นครั้งแรกโดย ผศ.พญ.สาวิตรี พรานพนัสและคณะ วันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2554

งานด้านการศึกษา หน่วยฯ จัดการเรียนการสอนในระดับแพทยศาสตรบัณฑิต เป็นการสอนการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงทางสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยาแบบเบื้องต้นให้กับนักศึกษาแพทย์ปีที่ 5 และปีที่ 6 ส่วนการสอนระดับหลังปริญญา เป็นการสอนในรายวิชาเลือกของหลักสูตรวุฒิบัตรสาขาสูตินรีเวชวิทยาโดยสอนแพทย์ใช้ทุนปีที่ 3 และแพทย์ประจำบ้านปีที่ 2 ที่มาหมุนเวียนปฏิบัติงานคนละ 1 เดือน ต่อมาใน
ปี พ.ศ. 2546  รศ.พญ.ฐิติมา สุนทรสัจ ได้จัดทำหลักสูตรแพทย์ประจำบ้านอนุสาขาด้านเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ หลังจากผ่านการรับรองจากราชวิทยาลัยสูติฯ และแพทยสภา หน่วย ฯ จึงได้เปิดการฝึกอบรมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 เป็นต้นมา

นอกจากนี้หน่วยฯ ยังได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง คลื่นเสียงความถี่สูงเบื้องต้นทางสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 เป็นต้นมา และพัฒนาเป็นการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง Advance in Fetal Medicine ปี พ.ศ. 2543 และ พ.ศ. 2544 การประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง Advanced Obstetric Ultrasound ปี พ.ศ. 2560 การประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การดูแลสตรีตั้งครรภ์เสี่ยงสูง ในปี พ.ศ. 2561 การประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง Advanced Ultrasound ปี พ.ศ. 2562

ปี พ.ศ. 2547 เริ่มเปิดให้บริการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงแบบ 3 และ 4 มิติ และให้บริการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงนอกเวลาราชการ

ปี พ.ศ. 2550 ได้เปลี่ยนชื่อหน่วยฯ เป็น “หน่วยเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์” เพื่อให้ครอบคลุมงานที่ต้องรับผิดชอบซึ่งมีความหลากหลายมากขึ้น

อาจารย์ประจำหน่วย

Aj Krata.jpg

รศ.พญ.ฐิติมา สุนทรสัจ   |  หัวหน้าหน่วย

ASSOC. PROF. THITIMA SUNTHARASAJ

E-mail: sthitima@hotmail.com

CV

MED_5105.JPG

ศ.พญ.จิตเกษม สุวรรณรัฐ

PROF. CHITKASAEM SUWANRATH

E-mail: schitkas@yahoo.co.uk

CV 

Aj Savitree.jpg

รศ.พญ.สาวิตรี พรานพนัส

ASSOC. PROF. SAVITREE PRANPANUS

E-mail: savitree46@hotmail.com

CV

Aj Ninlapa.jpg

รศ.พญ.นิลภา พฤกษานุศักดิ์

ASSOC. PROF. NINLAPA PRUKSANUSAK

E-mail: nin056@hotmail.com

CV

Aj Bas.jpg

ผศ.พญ.ชุษณา เพชรพิเชฐเชียร

ASST. PROF. CHUSANA PETPICHETCHIAN

E-mail: chusana020@gmail.com

CV

Mean%202_edited.jpg

ผศ.พญ.มนภัทร สุกใส

ASST. PROF. MANAPHAT SUKSAI

E-mail: manaphat.s@psu.ac.th

CV

N Pu.jpg

ผศ.พญ.นัฐทิชา ไชยณรงค์

ASST. PROF.NATTHICHA CHAINARONG

E-mail: mallerine_pu@hotmail.com

CV

N Sai.jpg

ผศ.พญ.รับพร สวัสดิสรรพ์

ASST. PROF. RAPPHON SAWADDISAN

E-mail: sai.sawaddisan@gmail.com

CV 

แพทย์ประจำบ้านอนุสาขา

Noppasin.jpg

นพ.นภสินธ์
ขวัญแก้ว

แพทย์ประจำบ้านอนุสาขา ชั้นปี 2

IMG-4853.JPG

พญ.ปองกานต์
นะยะเนตร

แพทย์ประจำบ้านอนุสาขา ชั้นปี 2

IMG-7868.JPG

พญ.ชุตินันท์
ลีลารุจิเจริญ

แพทย์ประจำบ้านอนุสาขา ชั้นปี 1

IMG-7869.JPG

พญ.วรรธนันทน์
วัฒนสถติย์นุกูล

แพทย์ประจำบ้านอนุสาขา ชั้นปี 1

Color Stain

ทำเนียบแพทย์ประจำบ้านอนุสาขา

นพ.สุชิน สุทธิเบญจกุล

ปีการศึกษา 2548-49

พญ.นิลภา พฤกษานุศักดิ์

ปีการศึกษา 2552-53

พญ.ชุษณา เพชรพิเชฐเชียร

ปีการศึกษา 2555-56

นพ.สุรชัย พงษ์หล่อพิศิษฐ์

ปีการศึกษา 2555-56

พญ.มนภัทร สุกใส

ปีการศึกษา 2556-57

พญ.พุทธพร ทองพนัง

ปีการศึกษา 2557-58

พญ.นัฐทิชา ไชยณรงค์

ปีการศึกษา 2558-59

พญ.พักตร์ประภา  ไชยภักดี

ปีการศึกษา 2558-59

พญ.รัตน์พร เบญจมานนท์

ปีการศึกษา 2559-60

พญ.รับพร สวัสดิสรรพ์

ปีการศึกษา 2559-60

พญ.กนกกานต์  เกียรติก้องแก้ว

ปีการศึกษา 2560-61

พญ.คัทลียา  มุขดี

ปีการศึกษา 2560-61

พญ.ศิริวรรณ บริพันธ์

ปีการศึกษา 2561-62

พญ.ภิชญา บุญเจริญ

ปีการศึกษา 2561-62

นพ.กล้า เจริญจิระตระกูล

ปีการศึกษา 2562-63

บุคลากรประจำหน่วย

P Ou.jpg

สุธิราภรณ์ จันวดี

พยาบาล

S__11444228.jpg

วนิดา ชกสุริวงศ์

พนักงานช่วยการพยาบาล

P Jane.jpg

นันท์นภัส แก้วมณี

ผู้ช่วยวิจัย

การเรียนการสอน

ระดับก่อนปริญญา

นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 6 (รายวิชาเลือก)

ระดับหลังปริญญา

  • หลักสูตรวุฒิบัตรสาขาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา

  • หลักสูตรแพทย์ประจำบ้านอนุสาขาเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์

  • รายวิชาเลือกของแพทย์ประจำบ้านหรือแพทย์ใช้ทุนจากภาควิชาอื่น ๆ

การเรียนการสอนระดับหลังปริญญา

คู่มือการปฏิบัติงาน

แพทย์ประจำบ้าน

อนุสาขาเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์

งานบริการ

การตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง

ทางสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา

ให้คำปรึกษา

การตรวจคัดกรองและวินิจฉัยก่อนคลอดโรคพันธุกรรมที่บ่อย

การตั้งครรภ์ความเสี่ยงสูง

ให้คำปรึกษาและดูแลรักษา

การตรวจวินิจฉัยก่อนคลอด

เจาะน้ำคร่ำ เจาะเลือดสายสะดือทารก เจาะดูดเนื้อรก

ให้การรักษาทารกในครรภ์ที่มีความผิดปกติ

การรักษาด้วยยา
ให้เลือดทารกในครรภ์
amnioreduction

table.JPG
staff.JPG
bottom of page